ความหมายของอินเทอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต ของสิ่งต่างๆ (Internet of Things) หรือ (IoT) มีความหมายถึง อินเตอร์เน็ต ของอุปกรณ์หรือวัตถุซึ่งมีเซ็นเซอร์ซอฟต์แวร์และ เทคโนโลยี อื่นๆฝังอยู่ในตัวมันเพื่อจุดประสงค์ในการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับอุปกรณ์และระบบอื่น ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและการใช้งานแบบอุปกรณ์อัจฉริยะ
สิ่งต่างๆได้ถูกพัฒนาขึ้นเนื่องจากการเชื่อมโยงกันของเทคโนโลยีหลายประเภททั้งการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ (Realtime Analytic), การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning), การเซ็นเซอร์สินค้า (Commodity Sensors) และระบบฝังตัว (Embeded System)
ระบบฝังตัวแบบดั้งเดิม, เครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย, ระบบควบคุมแบบอัตโนมัติในบ้านและในอาคาร และอื่น ๆ ล้วนแต่มีส่วนในการใช้งานคุณสมบัติของอินเทอร์เน็ตของสิ่งต่างๆ
สำหรับผู้บริโภค เทคโนโลยี IoT มีความหมายที่คุ้นเคยกันมากที่สุดกับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดของบ้านอัจฉริยะ ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบอัจฉริยะ เช่นหลอดไฟเทอร์โมสตัท, ระบบรักษาความปลอดภัยภายในบ้าน, กล้องถ่ายรูปและเครื่องใช้ในบ้านอื่นๆ
ที่รองรับระบบนิเวศ (Ecosystem) มากขึ้นและสามารถควบคุมผ่านอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศนั้น เช่น สมาร์ทโฟนและลำโพงอัจฉริยะ นอกจากนี้ IoT ยังสามารถใช้ประโยชน์ในระบบการดูแลสุขภาพได้
มีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับผลกระทบจากการเติบโตของ IoT โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย ดังนั้นจึงมีการขับเคลื่อนของภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐเพื่อจัดการกับความกังวลเหล่านี้รวมถึงการพัฒนามาตรฐานสากลของ IoT ด้วย
แนวคิดหลักของเครือข่ายอุปกรณ์อัจฉริยะได้รับการกล่าวถึงในช่วงต้นปี 1982 โดยเครื่องจำหน่ายน้ำอัดลมที่ได้รับการพัฒนาที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอนซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเครื่องแรก เครื่องนี้สามารถรายงานสถานะสินค้าในเครื่องและระดับความเย็นของเครื่องดื่มที่เพิ่งบรรจุเข้าไป
มีบทความที่แพร่หลายกว้างขวางในปี 1991 ของ Mark Weiser เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์คือ “คอมพิวเตอร์แห่งศตวรรษที่ 21” ตลอดจนการจัดงานทางวิชาการเช่น UbiComp และ PerCom ทำให้เกิดวิสัยทัศน์ร่วมสมัยของ IoT เกิดขึ้นครั้งแรก
ในปี 1994 Reza Raji อธิบายแนวคิดใน IEEE Spectrum ว่า “การเคลื่อนของแพ็กเก็ตข้อมูลขนาดเล็กไปยังโหนดชุดใหญ่เพื่อรวมกันและทำให้ทุกอย่างทำงานได้โดยอัตโนมัติตั้งแต่เครื่องใช้ในบ้านไปจนถึงภายในโรงงานทั้งโรงงาน” ระหว่างปี 1993 และ 1997 บริษัทหลายแห่งได้เสนอโซลูชันเช่น Microsoft’s at Work หรือ Novell’s NEST
โซลูชั่นเหล่านี้ได้รับแรงผลักดันเมื่อ บิลล์ จอย (Bill Joy) นำเสนอเรื่องการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์เป็นส่วนหนึ่งของกรอบ “Six Webs” ของเขาซึ่งนำเสนอใน World Economic Forum ที่ดาวอสในปี 1999
คำว่า “Internet of Things” ได้รับการประกาศขึ้นโดย Kevin Ashton จาก Procter & Gamble ซึ่งต่อมาเป็น Auto-ID Center ของ MIT ในปี 1999 แม้ว่าเขาจะชอบวลี “Internet for Things” มากกว่าก็ตาม ในตอนนั้นเขามองว่าการระบุตัวตนด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency Identification) หรือ RFID มีความสำคัญต่ออินเทอร์เน็ตของสิ่งต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถจัดการทุกๆสิ่งได้
มีการให้คำจำกัดความของอินเทอร์เน็ตของสิ่งต่างๆว่าเป็นจุดเริ่มของเวลาที่สิ่งของหรือวัตถุเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตมากกว่ามนุษย์ธรรมดา Cisco Systems ประมาณการว่า IoT นั้นถือกำเนิด ระหว่างปี 2008 ถึง 2009 โดยอัตราส่วนการต่อเข้าอินเตอร์เน็ตของวัตถุสิ่งของต่อมนุษย์เพิ่มขึ้นจาก 0.08 ในปี 2003 เป็น 1.84 ในปี 2010
การเชื่อมต่อสิ่งที่มีอยู่จริงกับอินเทอร์เน็ตทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเซ็นเซอร์และควบคุมอุปกรณ์และวัตถุทางกายภาพได้จากระยะไกล การผสมผสานข้อมูลที่ตรวจจับได้ในอุปกรณ์นั้นกับข้อมูลที่ดึงมาจากแหล่งอื่นเช่นการผสานกับข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บ ก่อให้เกิดบริการเสริม การทำงานแบบใหม่ที่ไปไกลกว่าการทำงานของระบบที่ฝั่งอยู่เฉพาะอุปกรณ์หรือวัตถุที่แยกออกเป็นอิสระอย่างเดียว
Internet of Things ทำงานได้ตรงตามวิสัยทัศน์นี้ ออบเจ็กต์อัจฉริยะซึ่งเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของ Internet of Things เป็นเพียงชื่อหนึ่งของระบบฝังตัวที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต มีเทคโนโลยีอื่นที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันที่เห็นได้ง่ายคือเทคโนโลยี RFID ซึ่งเป็นส่วนขยายของบาร์โค้ดออปติคอลที่มีใช้งานกันอย่างแพร่หลายและพบได้ในผลิตภัณฑ์ที่เห็นเป็นปกติอยู่ทุกวันจำนวนมาก
ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จำเป็นต้องมีการแนบแท็กไอดีอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต้นทุนต่ำแบบสมาร์ทเข้าไป เพื่อให้สามารถถอดรหัสข้อมูลประจำตัวของผลิตภัณฑ์ได้จากระยะทางไกล ด้วยการใส่ความฉลาดมากขึ้นในแท็กไอดี สิ่งที่ถูกแท็กจะกลายเป็นวัตถุอัจฉริยะ ความแปลกใหม่ของ Internet-of-Things (IoT) ไม่ได้อยู่ในเทคโนโลยีที่ปฏิวัติขึ้นใหม่ใด ๆ แต่อยู่ที่การนำวัตถุอัจฉริยะมาใช้งานอย่างแพร่หลาย
ในความหมายที่กว้างที่สุดคำว่า IoT ครอบคลุมทุกสิ่งที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต แต่มีการใช้เพื่อกำหนดวัตถุที่สามารถสื่อสารกันได้และมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ “พูดง่ายๆคือ Internet of Things ประกอบด้วยอุปกรณ์ตั้งแต่เซ็นเซอร์ธรรมดาไปจนถึงสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ที่สวมใส่ได้เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน” Matthew Evans หัวหน้าโปรแกรม IoT ของ techUK กล่าว
ด้วยการรวมอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเหล่านี้เข้ากับระบบอัตโนมัติจึงสามารถ “รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์และสร้างการดำเนินการ” เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการทำงานเฉพาะด้านหรือเรียนรู้จากกระบวนการ ในความเป็นจริงอุปกรณ์เหล่านี้มีตั้งแต่กระจกอัจฉริยะไปจนถึงอุปกรณ์ขนาดเล็กในร้านค้าและอื่น ๆ
“มันเกี่ยวกับเครือข่ายมันเกี่ยวกับอุปกรณ์และมันเกี่ยวกับข้อมูล” Caroline Gorski หัวหน้าฝ่าย IoT ของ Digital Catapult ให้คำอธิบาย IoT ช่วยให้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตส่วนตัวแบบปิดสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้และ “Internet of Things นำเครือข่ายเหล่านั้นมารวมกัน
มันเปิดโอกาสให้อุปกรณ์ต่างๆสื่อสารกันได้ไม่เพียงแต่ภายในโรงเก็บของเดียวกันเท่านั้น แต่ยังสามารถสื่อสารข้ามเครือข่ายประเภทต่างๆ และเชื่อมต่อกันกับโลกภายนอกได้มากขึ้น”
มีการโต้แย้งว่าเพียงเพราะบางสิ่งบางอย่างสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ไม่ได้หมายความว่ามันมีความเหมาะควร เพราะอุปกรณ์แต่ละเครื่องเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะที่อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ซื้อมันแต่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง
ในงานด้านอุตสาหกรรม เซ็นเซอร์บนสายผลิตภัณฑ์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลิตภัณฑ์ที่เสียหายได้ การศึกษาชิ้นหนึ่งประมาณการว่า 35 เปอร์เซ็นต์ของผู้ผลิตในสหรัฐฯใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์อัจฉริยะที่ได้รับการตั้งค่ามาแล้ว บริษัท Concrete Sensors บริษัทในสหรัฐอเมริกาได้สร้างอุปกรณ์ที่สามารถสอดเข้าไปในคอนกรีตเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพของวัสดุได้เป็นต้น
“IoT เปิดโอกาสให้เราทำสิ่งต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การทำงานของมันช่วยประหยัดเวลาและเงิน” Evans กล่าว ช่วยให้บริษัท, รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ สามารถคิดใหม่ได้ว่าพวกเขาจะให้บริการและผลิตสินค้าอะไรและอย่างไรต่อไป
“คุณภาพและขอบเขตของข้อมูลใน Internet of Things ทำให้เปิดโอกาสสำหรับการโต้ตอบกับอุปกรณ์ตามบริบทและตอบสนองได้มากขึ้น เพื่อสร้างศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง” Gorski กล่าวต่อ “มันไม่หยุดอยู่แค่บนหน้าจอ”